การทำบัญชีและเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง

การทำบัญชี และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง

การทำบัญชีและเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง

เมื่อจะเริ่มเปิดดำเนินการประกอบธุรกิจ ในรูปแบบบุคคลธรรมดานั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือจะต้องมีการวางแผนในการเสียภาษี และในขณะเดียวกันจะต้องมีการวางระบบบัญชี และระบบเอกสารอย่างไร ที่จะทำให้การการเสียภาษีเป็นไปอย่างเป็นระบบ ที่จะทำให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อย่างถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และประหยัด ลดการถูกประเมินเพื่อเสียภาษีย้อนหลัง และในขณะเดียวกันก็จะได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในปีต่อๆไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ดังนั้นการทำบัญชีจึงถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญเรื่องหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ถึงแม้จะเริ่มต้นในรูปแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งก็จะเป็นฐานในการขยายกิจการไปสู่การทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล ( บริษัท / ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งด้านการรับทำบัญชี การวางระบบบัญชี และการเป็นที่ปรึกษาการทำบัญชี การวางแผนภาษี และการบริหารการเงินกว่า 30 ปี จึงทำให้เราสามารถกำหนดขั้นตอนการทำบัญชีของกิจการบุคคลธรรมดา ไม่ว่ากิจการที่เปิดใหม่ หรือเปิดมานานแล้ว ในการจะเริ่มทำบัญชีและเสียภาษีในรูปบุคคลธรรมดา สามารถสรุปประเด็นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญในการดำเนินงานได้ดังนี้

1.ตรวจเช็ควัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ 

ถ้าจะเริ่มทำบัญชีเพื่อจะเสียภาษี เจ้าของกิจการจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจว่าจะประกอบธุรกิจประเภทใด เช่น ธุรกิจซื้อมา-ขายไป หรือธุรกิจการให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเสียภาษี ซึ่งสามารถดูได้จากประเภทรายได้ของบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ซึ่งจะมี 8 ประเภทด้วยกัน และต้องทำความเข้าใจว่าธุรกิจที่ทำนั้นรายได้จัดอยู่ในมาตรา 40 (1) ถึงมาตรา 40 ( 8) ซึ่งในส่วนนี้จะต้องชัดเจน

2. จัดระบบเอกสารรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆให้ชัดเจน เสมือนกับธุรกิจ ที่จัดในรูปนิติบุคคล ( บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ) ในส่วนเอกสารจะต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รวมถึงเส้นทางการเงิน เป็นต้น เรื่องนี้สำคัญมากๆ

3. การทำบัญชี เจ้าของกิจการจะต้องทำบัญชี รับ-จ่าย ให้ถูกต้อง สอดคล้องกับเอกสารและเส้นทางทางการเงินตามข้อ 2

4. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการนำส่งภาษี การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการนำส่งภาษี.  

มี 2 วิธีคือ

4.1. วิธีแรก ประกอบด้วย เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน X อัตราภาษี

4.2. วิธีที่สอง = เงินได้ที่ไม่ใช้เงินเดือน X 0.50 % = ภาษีที่ต้องจ่าย วิธีนี้จะใช้เมื่อมีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี

4.3. เมื่อคำนวณภาษี ตาม 4.1 และ 4.2 ให้นำส่งภาษีที่คำนวณได้สูงกว่า นำไปเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด

4.4. การหักค่าใช้จ่ายตาม 4.1. ถ้ารายได้จากการทำงานประจำหรือการจ้างแรงงาน หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 50 % แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

4.5. การหักค่าใช้จ่ายตาม 4.1 ถ้ารายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่เป็นรายได้ประเภทที่ 8 มีวิธีคำนวณภาษี 2 วิธี คือ

4.5.1. หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60 %

4.5.2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง ที่ทำบัญชีได้ตาม ข้อ 3 ซึ่งจะต้องมีการทำบัญชีรายรัย รายจ่าย และเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงอย่างรอบคอบ

4.6. การเสียภาษี หรือการนำส่งภาษี จะเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือจะดำเนินการดังนี้

4.6.1. เสียหรือนำส่งภาษีครึ่งปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94)

4.6.2. เสียหรือนำส่งภาษีทั้งปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90)

5. การเก็บเอกสาร  จะต้องจัดเก็บเอกสารไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี  ประกอบด้วย เอกสารรายได้ เอกสารค่าใช้จ่าย แบบนำส่งภาษี ( ภ.ง.ด. 94 พร้อมใบเสร็จเสียภาษี และ ภ.ง.ด.90 ใบเสร็จรับเงินเสียภาษี

บริษัทเราให้บริการ

  • รับทำบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • วางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร สำหรับการประกอบธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอคำปรึกษาได้ที่

อ.ปัญญา ศุกลินวนิช โทร 065-449-1925

หรือ p.sukalinwanit@gmail.com