การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง

การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง

                 การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง หมายถึง การทำบัญชีให้ถูกต้องตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน , ตาม พรบ.การบัญชี และตามประมวลรัษฎากร

ถูกต้องตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน หมายถึง

–    ทำตาม พรบ.โรงเรียนเอกชนอย่างเคร่งครัด

–    การจัดสรรเงินกองทุน และการจัดสรรเงินให้ผู้รับใบอนุญาต

–    การจัดทำตราสารโรงเรียน(สำหรับโรงเรียนเอกชนที่เปิดใหม่)

–    การจัดให้มีการตรวจสอบบัญชี โดยให้คณะ กรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบเพื่อตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้น รอบปีบัญชี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

ถูกต้องตาม พรบ.การบัญชี หมายถึง

                ผู้ทำบัญชี

–    มีคุณสมบัติ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

–   ควบคุมดูแลการทำบัญชีให้เป็นไป ตามมาตรฐานการบัญชี

จัดให้มีการทำบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการลงบัญชี 

–   จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีได้แก่ บันทึก หรือเอกสารใดๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี

–   ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงานฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี

 ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน

–   ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 เมษายน

–   จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน

–   จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญ   

การยื่นงบการเงิน

–   ยื่นงบการเงินต่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

–   เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการ

–    เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี

ถูกต้อง ตามประมวลรัษฎากร

                หมายถึงการวางแผนภาษี ของโรงเรียนเอกชน เพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนให้ต่ำลงภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันภาระที่เกิดขึ้นในอนาคตของกิจการ ดังนั้นการวางแผนภาษี (Tax Planning) ไม่ใช่เป็นการหลบเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) หรือหนีภาษี (Tax Evasion) ก่อนที่จะมีการวางแผนภาษีนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการวางแผนภาษีดังต่อไปนี้
   1.  ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
              ในการวางแผนภาษีอากรผู้วางแผนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจตัวบทกฎหมายของโรงเรียนเอกชน อย่างชัดเจนถูกต้อง ไม่หลงลืมประเด็นหนึ่งประเด็นใดในตัวบทกฎหมายภาษีอากร นอกจากนี้จะต้องศึกษาคำพิพากษา และข้อหารือของกรมสรรพากรประกอบการวางแผนภาษีอากรให้รัดกุมครบถ้วน
   2.  ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
               จะต้องศึกษาข้อกฎหมายที่จะทำให้โรงเรียน ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด โดยการกำหนดทางเลือกในการนำเงื่อนไขทางกฎหมายมาใช้ให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดและถูกกฎหมายอีกด้วย เช่น รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และเรื่องของการที่ไม่ต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
   3.  ปลอดภัยจากภาระที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า
                 การวางแผนภาษีอากรจะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากมุมมองของผู้วางแผนขาดความรอบครอบในการศึกษาตัวบทกฎหมายได้อย่างถูกต้องแล้วอาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตโดยถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบและประเมินภาษี ทำให้กิจการมีราจ่ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด
   4.  มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและสมเหตุผล
                   เมื่อมีการวางแผนภาษีอากรในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องมีการยกกฎหมายมาอ้างอิงให้ชัดเจน สามารถตอบคำถามในปัญหาต่าง ๆ ในประมวลรัษฎากร คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถหาคำตอบได้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารอย่างไม่มีข้อสงสัย และเชื่อถือได้ในข้อมูลที่นำมาอ้างอิงเพื่อการวางแผนภาษี