เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกต้อง เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ เศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบ และเสียภาษีเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 กรมสรรพากร และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้านภาษี โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงแบบOnline ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams ซึ่งการลงนามครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อยกระดับการให้บริการกับผู้เสียภาษีและประชาชนให้ตรงกลุ่ม ตรงใจ และสร้าง ความเป็นธรรมในการเสียภาษี ซึ่งเป็นการดาเนินการตามกลยุทธ์ของกรมสรรพากร ที่มุ่งพัฒนาฐานข้อมูล ขนาดใหญ่และวิเคราะห์ข้อมูลด้านภาษี เพื่อขับเคลื่อนการเป็นองค์กรดิจิทัล
เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการปรับตัวในส่วนของการทำบัญชีให้รัดกุม รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการเรียกตรวจสอบ และกิจการจะต้องเสียภาษี พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
สำหรับผู้มีอาชีพรับทำบัญชีจะต้องมีการวางแผนงานทำบัญชี และมีขบวนการสอบทานความถูกต้อง เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจมีขึ้นได้ ดังนี้
1. วางรูปแบบการทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการทำบัญชีตามประเภท ธุรกิจ เช่น ซื้อมา-ขายไป ,บริการ ,นำเข้า-ส่งออก เป็นต้น ประกบด้วย
1.1.วางระบบซื้อ และเจ้าหนี้
1.2.วางระบบบัญชีขาย และลุกหนี้
1.3.วางระบบบัญชีสอนทรัพย์ถาวร
1.4.วางระบบบัญชีสินค้าคงเหลือ
1.5.วางระบบบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง เงินเดือน และประกันสังคม
2. เมื่อบันทึกบัญชี และทำการปิดบัญชี ตามระบบการทำบัญชีที่วางไว้
และร่างจัดทำแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว
3. ทำการสอบทาน การกระทบยอด ภ.ง.ด.50 (ภาษีเงินได้นิติบุคคล ) , ภ.พ.30 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) และ ภ.ง.ด.53 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
ดังนั้นเมื่อผู้มีหน้าที่รับทำบัญชี ได้ทำบัญชีตามขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้ว จะทำให้การทำบัญชีมีประสิทธิภาพ ทำงานได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นการลดโอกาสที่จะถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบ และเสียภาษี พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม อย่างแน่นอน