วางแผนภาษีแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน

วางแผนภาษีแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน

1 การจำแนกประเภทเงินได้ของแพทย์

   1.1 เงินได้ตามมาตรา 40 (1) ถือเป็นเงินเดือนค่าจ้าง ซึ่งจะต้องเป็นลักษณะที่แพทย์ มีความสัมพันธ์ กับสถานพยาบาล ในฐานะลูกจ้าง กับนายจ้าง เช่น แพทย์ ที่ทำงานประจำในโรงพยาบาลเอกชนเป็นต้น

   1.2. เงินได้ตามมาตรา 40 (2) เป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ จะมีลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน คล้ายกับ 40 (1) เพียงแต่กรณีนี้แพทย์จะได้รับค่าตอบแทนที่ความสำเร็จของงาน มิได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะ นายจ้างกับลูกจ้าง

   1.3. เงินได้ตามมาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งโดยทั่วๆไปจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน

       1 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ

       2 ใช้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านการแพทย์ในการปฏิบัติงาน

       3 ถ้าเป็นผู้กำหนด ค่ารักษาพยาบาล ตามความยากง่ายของงานอย่างอิสระ (ฎีกาที่ 2643/ 2543) เช่น

         – การเปิดคลินิกส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นในรูปของบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล

         – กรณีแพทย์ทำสัญญาหรือข้อตกลงพิเศษกับสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่ เพื่อประกอบโรคศิลปะเป็นการส่วนตัวนอกเวลาทำงานปกติ โดยการรับตรวจตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินที่ตนได้รับจากผู้ป่วย ให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6)

         – กรณีแพทย์ทั้งที่ทำงานประจำและมิได้ทำงานประจำในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนจะได้ประกอบโรคศิลปะ โดยการรับตรวจและรักษาผู้ป่วย ที่ตนนำเข้ามารักษา ที่สถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง เป็นครั้งคราว ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (6)   หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค.0811/03786 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2541

   1.4. เงินได้ตามมาตรา 40 (8) เป็นกรณีที่เปิดเป็นสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล โดยมีเตียง รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เช่น โพลีคลินิกต่างๆที่เปิดเป็นสถานพยาบาล 24 ชั่วโมง โดยมีการรับผู้ป่วยในด้วย

2. อาชีพแพทย์ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

    มาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแก่วิชาชีพอิสระเพียง 3 ประเภท เท่านั้น ประกอบด้วยโรคศิลปะ การว่าความ และการสอบบัญชี แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นเงินได้ ตามชนิดที่กำหนดในกฎหมายควบคุมประกอบวิชาชีพดังกล่าวเท่านั้น

 ตัวอย่างเช่น การตรวจวินิจฉัยโรค การตรวจเลือด อุจจาระปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ รวมตลอดถึงอาหารคนไข้ ค่านำผงเลี้ยงเด็กแรกเกิด หลังมารดาคลอด หรือพักรักษาตัวก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง ของการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับตรวจสอบบัญชี

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

02-9640061, 02-9640062065-449-1925, 096-656-9162 

เว็บไซต์: 

บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด 

http://www.atsaccounting.co.th/ หรือ https://buncheesiam.com/  

จาก กลยุทธ์การวางแผนภาษีชั้นสูง

อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์