การทำบัญชีเล่มเดียวให้ถูกต้องสำหรับ ธุรกิจบริการ

การทำบัญชีเล่มเดียวให้ถูกต้องสำหรับ ธุรกิจบริการ

          เมื่อกรมสรรพากรได้ออกมาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs สำหรับกิจการบริการที่สนใจที่จะปฏิบัติตาม ในการทำบัญชีเล่มเดียวให้สรรพากรยอมรับ ต้องปฏิบัติตามหลักการบัญชี มาตรฐานบัญชี และภาษีอากร ให้ครบถ้วนถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ได้จัดทำบัญชีเล่มเดียวจะต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการซึ่งจะทำให้กิจการได้สิทธิได้รับยกเว้นไม่ถูกตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง และยังได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกด้วย

          ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจบริการควรพิจารณาการจัดทำบัญชีเล่มเดียวเพื่อความถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการเพื่อให้สรรพากรยอมรับ ดังนี้

1.การทำบัญชีให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี มาตรฐานการบัญชี

1.1 ผู้ทำบัญชี

 มีคุณสมบัติ และเงื่อนไข ตามประกาสกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 คัดเลือกผุ้ทำบัญชีที่ที่มีประสบการณ์ มีประสิทธิภาพการทำงานด้านบัญชีรับเหมาก่อสร้างทั้งระบบ

 จัดให้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่เริ่มประกอบธุรกิจ ตามที่ระบุในการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

 จัดทำบัญชีให้ครบถ้วนและถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการและตามที่กฎหมายกำหนด

 ควบคุมดูแลการทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี และตรงตามความจริง

1.2 มีระบบบัญชีที่ดีได้แก่

 จะต้องทำบัญชีให้สอดคล้องไปกับธรรมชาติของการปฏิบัติงาน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นจริงระบบต่างๆ เพื่อลดความผิดพลาด

 ต้องเป็นระบบบัญชีที่มีการควบคุมภายในอย่างดีเยี่ยมสามารถป้องกันการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ

 ระบบบัญชีที่ดีจะต้องได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการ และสามารถนำเสนอรายงานต่อผู้บริหารได้ตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถวัดผลการดำเนินงานเป็นรายโครงการ ได้อย่างถุกต้อง เช่น ความถูกต้องของการบันทึกรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ทั้งนี้รวมถึงการวัดมูลค่าทั้งหมดทางด้านภาษี

1.3 มีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการลงบัญชี และสอดคล้องกับระบบบัญชี  

 จัดให้มีเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน

 ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกบัญชีให้ผู้จัดทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี

 ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี โดยให้จัดเก็บบัญชี และเอกสารบัญชี ณ สถานที่ประกอบุรกิจ

1.4 ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน

 ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12เดือน นับวันเริ่มทำบัญชี และปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน

 จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด

 ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย CPA (เว้นแต่ งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพยืรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีTA ตรวจสอบงบการเงิน)

1.5 การยื่นงบการเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ต้องนำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อนาย ทะเบียนภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี

 บริษัทจำกัด 

– ต้องนำงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี 

– ต้องนำส่งงบการเงินต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่

– ต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในเวลาที่ประชุม (บอจ.5) ต่อนายทะเบียนภายใน 14วันนับแต่วันประชุมสามัญ  ผู้ถือหุ้น

1.6 การยื่นงบการเงิน และนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ( ภ.ง.ด.50 ) ที่กรมสรรพากร

 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

2. การทำบัญชีให้ถูกต้อง ตามประมวลรัษฎากร

2.1 จะต้องศึกษาการบริหารจัดเก็บภาษีอากรยุคใหม่ของกรมสรรพากร

กรมสรรพากรได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำ ระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ National e-Payment Master Plan 5 โครงการดังนี้

โครงการที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงิน ได้แก่ โครงการ บริการ พร้อมเพย์ (PromptPay)

 พร้อมเพย์เป็นทางเลือกใหม่ในการโอนเงินและรับเงินของประชาชน ทำให้มีความสะดวกมากขึ้นไม่ต้องขอเลขที่บัญชีของผู้รับโอนค่าธรรมเนียมถูกกว่าบริการโอนเงินข้ามธนาคารแบบเดิม 

 มีเป้าหมายรองรับการโอนเงินผ่าน 5 ประเภท ID ได้แก่ เลขประจ าตัวบัตรประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ, เลขที่บัญชีธนาคาร, กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet ID) และ อีเมลล์(e-Mail Address)

 ลดข้อจำกัดของระบบปัจจุบัน และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ

โครงการที่ 2 บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นการขยายการใช้บัตร

 ขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และ ขยายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

 ช่วยให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ สามารถเข้าถึงและใช้บริการ

          – ชำระเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสื่อการ

          – ชำระเงินที่สะดวก พกพาง่าย และประชาชนคุ้นเคยมากกว่าสื่ออื่น ๆ

 ช่วยลดการใช้เงินสดในชีวิตประจำวันของประชาชน ลดภาระในการดูแลและตรวจนับเงินของผู้รับเงิน ลดต้นทุนในการบริหารจัดการและขนส่งเงินสดของภาคธนาคาร

โครงการที่ 3 ภาษีอิเล็คทรอนิกส์ VAT, WHT e-Tax Invoice

 บูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำและนำส่งเอกสารพาณิชย์

 อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีในการจัดการเรื่องภาษีแก่ผู้เสียภาษี

          – อำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการชำระภาษี และคืนเงินภาษีผ่านบริการ PromptPay

 ลดต้นทุน ระยะเวลา และขั้นตอนในการจัดทำเอกสารและการชำระภาษี

 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้สะดวกรวดเร็วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

 จัดทำและจัดส่งใบกำกับภาษีและใบรับทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการค้าแบบไร้พรมแดน

โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ สวัสดิการ/เงินช่วยเหลือการรับจ่ายเงินภาครัฐ

 จ่ายสวัสดิการภาครัฐแก่ประชาชนผ่านเลขบัตรประชาชนที่ได้ลงทะเบียน   ไว้

 พัฒนาการรับจ่ายเงินภาครัฐด้วย e-Payment

 บูรณาการฐานข้อมูลกลางในการให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมถึงผู้มีรายได้น้อย

โครงการที่ 5 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และมาตรการจูงใจส่งเสริมการเข้าสู่ e-Payment

 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อส่งเสริมการใช้ e-Payment

 ภาครัฐออกมาตรการจูงใจ เพื่อกระตุ้นการใช้ e-Payment แทนเงินสดและเช็ค จะต้องทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องครบถ้วนในเรื่องของภาษีอากร

 ภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึงการรับรู้รายได้ และค่าใช้จ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิ์ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(ดุมาตร65ประกอบคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528ฯ ข้อ3.6)

 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อผู้จ่ายเงิน(ผู้ว่าจ้าง)ที่เป็นนิติบุคคลจ่ายค่าจ้างทำของให้แก่ผู้รับเงิน(ผู้รับจ้าง) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 

 ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเรียนเก็บจากผู้ซื้อในวันที่รับชำระเงิน หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่กรณีใดจะถึงก่อน ในส่วนนี้จะต้องมีการออกใบกำกับภาษี และจะต้องทำรายงานภาษีขาย และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วน

 อากรแสตมป์ ผู้รับจ้างต้องเสียอากรแสตมป์ ตามลักษณะแห่งตราสารที่ 4 จ้างทำของโดยคำนวณจากทุก 1,000 บาทหรือเศษของบ 1,000 บาทแห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท 

ที่มาของข้อมูล

1.คู่มือภาษีอากร เรื่องจัดทำบัญชีอย่างไร ให้เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีโดยกรมสรรพากร

2.มาตรการบัญชีเล่มเดียวโดยกรมสรรพากร


บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

(เดิมบริษัท สำนักงาน เอ.ที.เอส.การบัญชี จำกัด)

รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับตรวจสอบบัญชี อบรมและฝึกงานบัญชี

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์ปัญญา ศุกลินวนิช โทร 065-449-1925

 คุณฐิติรัชต์  รังสรรค์รุ่งกิจ  โทร 096-656-9162

Tel : 02-9640061, 02-9640062

Website : www.buncheesiam.com

E-mail : p.sukalinwanit@gmail.com