การทำบัญชีให้ถูกต้อง

 การทำบัญชีให้ถูกต้อง

 การทำบัญชีให้ถูกต้อง หมายถึง การทำบัญชีให้ถูกต้องตาม พรบ.การบัญชี และตามประมวลรัษฎากรถูกต้องตาม พรบ.การบัญชี หมายถึง

 ผู้ทำบัญชี

  มีคุณสมบัติ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดประกาศกรมทะเบียนการค้ากำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีปี2543ใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค.54 เช่น มีคุณสมบัติ และถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร,มีความรู้ภาษาไทย,ไม่เคยต้องโทษกฎหมายบัญชี หรือผู้สอบบัญชี เป็นต้น

 ควบคุมดูแลการทำบัญชีให้เป็นไป ตามมาตรฐานการบัญชีตรงความเป็นจริง และถูกต้อง

จัดให้มีการทำบัญชี ตามาตรฐานการบัญชี

 การทำบัญชี ต้องครบถ้วนถูกต้องตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับดู ประกาศกรมทะเบียนการค้า
เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการ ที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔

 ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ

         บัญชีรายวัน เช่น บัญชีรายวันซื้อ,รานวันขาย,รายวันทั่วไป

 บัญชีเงินสด,บัญชีเงินฝากธนาคาร

 บัญชีสินค้าคงคลัง 

ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

 1.บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร เน้นที่มีในเอกสาร

2.บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชี

3.บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี

4.บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

5.บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

6.บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและ

7.หน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย (๗) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้าและจำนวนสินค้านั้น

ระยะเวลาที่ต้องมีในบัญชี

 1.บัญชีรายวัน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น

2.บัญชีแยกประเภท ต้องผ่านรายการจากบัญชีรายวันภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น

3.บัญชีสินค้า ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นบัญชีตาม (2) และ (3) ซึ่งต้องมีการลงรายการยอดคงเหลือต้องลงรายการยอดคงเหลือให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันปิดบัญชี

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการลงบัญชี 

         จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีได้แก่ บันทึก หรือเอกสารใดๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี

 ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชีเช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี

ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน

  ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มทำบัญชีและปิดบัญชี ทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน

  จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด

งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ คือ

(1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 1

(2) บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 2

(3) บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 3

(4) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 4

(5) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 5

ข้อ 3 ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของธุรกิจไม่มีรายการที่ต้องแสดงรายการย่อครบตามแบบ ที่กำหนดไว้ ก็ให้งดเว้นไม่ต้องแสดงรายการย่อที่ไม่มีดังกล่าว

ข้อ 4 งบกำไรขาดทุนอาจเลือกแสดงแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย หรือแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบขั้นเดียว หรือแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่-แบบหลายขั้นก็ได้

ข้อ 5 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของสำนักงานใหญ่ หรืองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ร่วมค้า อาจเลือกแสดงเป็นแบบงบแสดงการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายแทนก็ได้

ข้อ 6 ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้มีการแสดงรายการที่แตกต่างหรือนอกเหนือ จากรายการที่กำหนดไว้ตามประกาศฉบับนี้ก็ให้ปฏิบัติตามที่มาตรฐานการบัญชี กำหนด

ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป แต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ได้ก่อน ถึงกำหนดเวลาใช้บังคับก็ให้กระทำได้ และให้ถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้นได้จัดทำงบการเงินโดยถูกต้องตามข้อ กำหนดในเรื่องนี้แล้ว

จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเว้นแต่งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีหุ้นไม่เกินห้าล้านบาทสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาทและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

การยื่นงบการเงิน 

  ยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดและภายในเวลาที่กำหนด

 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน,นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ,กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร จะต้อง ยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี

 บริษัทจำกัด,บริษัทมหาชนจำกัด จะต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็น ประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี

 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ บุคคลธรรมดาตามประเภท ที่กำหนดให้ทำบัญชีเมื่อเลิกประกอบธุรกิจธุรกิจ ต้องส่งมอบบัญชีและ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีภายใน 90 วันนับแต่วัน เลิกประกอบธุรกิจ

ถูกต้อง ตามประมวลรัษฎากร

 หมายถึงการวางแผนภาษี ของแต่ละประเภทของกิจการ เพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนให้ต่ำลงภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันภาระที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของกิจการ ดังนั้นการวางแผนภาษี (Tax Planning) ไม่ใช่เป็นการหลบเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) หรือหนีภาษี (Tax Evasion) ก่อนที่จะมีการวางแผนภาษีนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการวางแผนภาษีดังต่อไปนี้

1.ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย ในการวางแผนภาษีอากรผู้วางแผนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจตัวบทกฎหมายอย่างชัดเจนถูกต้อง ไม่หลงลืมประเด็นหนึ่งประเด็นใดในตัวบทกฎหมายภาษีอากร นอกจากนี้จะต้องศึกษาคำพิพากษา และข้อหารือของกรมสรรพากรประกอบการวางแผนภาษีอากรให้รัดกุมครบถ้วน และทำให้กิจการเสียภาษีโดยประหยัดและถูกต้อง สิ่งที่ผู้วางแผนภาษีควรคำนึงถึงอย่างหนึ่งก็คือ อย่ามองแง่ใดแง่หนึ่งเพียงแง่เดียว จะต้องมองรายละเอียดของภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและถูกต้อง 

2.ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด จะต้องศึกษาข้อกฎหมายที่จะทำให้กิจการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด โดยการกำหนดทางเลือกในการนำเงื่อนไขทางกฎหมายมาใช้ให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดและถูกกฎหมายอีกด้วย เช่น รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การส่งเสริมการขายกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับการยกเว้น

3.ปลอดภัยจากภาระที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การวางแผนภาษีอากรจะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากมุมมองของผู้วางแผนขาดความรอบครอบในการศึกษาตัวบทกฎหมายได้อย่างถูกต้องแล้วอาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตโดยถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบและประเมินภาษี ทำให้กิจการมีราจ่ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

4.มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและสมเหตุผล เมื่อมีการวางแผนภาษีอากรในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องมีการยกกฎหมายมาอ้างอิงให้ชัดเจน สามารถตอบคำถามในปัญหาต่าง ๆ ในประมวลรัษฎากร คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถหาคำตอบได้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารอย่างไม่มีข้อสงสัย และเชื่อถือได้ในข้อมูลที่นำมาอ้างอิงเพื่อการวางแผนภาษี

5.ช่วยในการลดต้นทุน กิจการที่มีการวางแผนภาษีอากรจะทำให้กิจการสามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น การขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนทำให้กิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีอากรสำหรับส่วนแบ่งกำไรหรือเงินปันผล การประกอบกิจการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การจัดซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนาที่ได้รับสิทธิในการคำนวณค่าเสื่อมราคามากกว่าปกติ เป็นต้น นอกจากจะช่วยในการลดต้นทุนของกิจการแล้วยังช่วยในการเพิ่มกำไรสุทธิของกิจการให้สูงขึ้นโดยการอาศัยการวางแผนภาษีอากรในส่วนนี้จะเป็นการวางแผนภาษีให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ตามประเภทของธุรกิจ เช่น ซื้อขายสินค้า ,บริการ,โรงเรียนเอกชน,มูลนิธิ,สมาคม,นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ธุรกิจห้องเช่าหรืออพาร์ทเมนทร์ และนายหน้าประกันภัย เป็นต้น

 2.การทำบัญชีให้มีคุณภาพ

การทำบัญชีให้มีคุณภาพจะประกอบด้วย แนวปฏิบัติ ดังนี้

1.การจัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับโปรแกรมบัญชี

1.1 พยายามปรับระบบการทำงานให้เข้ากับโปรแกรมบัญชีมากที่สุด เพื่อลดปัญหาการเขียนโปรแกรมเพิ่ม

1.2 ทดลองนำข้อมูลเข้าในแต่ละระบบ และตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข

1.3 ใช้จริง ติดตามผล และปรับปรุงแก้ไข

2.กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด ที่เป็นไปได้เป็นการกำหนด เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น

 ปิดบัญชีตรงเวลา 90%

 จำนวนบัญชีที่ต้องแก้ไขหลังจากที่ปิดแล้ว ไม่เกิน 3% ของรายการบัญชีทั้งหมด

 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงจากพนักงาน มากกว่า 2 เรื่องต่อเดือน

 จำนวนข้อบกพร่องที่ได้จากการตรวจสอบ 2 จุดต่อเดือน

 จำนวนครั้งที่ปิดบัญชีช้า และทำให้ต้องเสียค่าปรับ

3.มีการตรวจสอบติดตาม และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องในส่วนนี้จะเป็นการตั้งคณะกรรมการคุณภาพ  เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ภารกิจหลักของคณะกรรมการคุณภาพได้แก่

 กำหนดมาตรฐานคุณภาพในการทำงาน

 พิจารณาให้ความเห็นชอบในการทำงานคุณภาพ

กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบ

จัดทำรายงานและกำหนดแนวทางการแก้ไข