ภาษีอากรสำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า ระดับ SME ของไทย

บทนำ

        ในการรับทำบัญชี ของบริษัท สำนักงาน เอ.ที.เอส.การบัญชี จำกัดนั้น ในเรื่องของภาษีอากร เราจะแบ่งภาษีตามประเภทธุรกิจ เช่น การผลิต,การซื้อขายสินค้า,การบริการ เป็นต้น แล้ว ในแต่ละประเภทธุรกิจจะมีการดำเนินการในรูปการในรูปของบุคคลธรรมดา และการดำเนินงานในรูปของนิติบุคคล

ในที่นี้จะกล่าวถึงภาษีอากรสำหรับธุรกิจ ซื้อขายสินค้า ระดับ SME ของไทย ซึ่งในส่วนของภาษีนั้นจะประกอบด้วย ภาษีเงินได้,ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ซึ่งในที่นี้เราจะมุ่งเน้นที่ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีสรรพสามิต นั้นก็เป็นการเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น ในเรื่องปลีกย่อยไม่ยุ่งยาก

ดังนั้นในเรื่องของภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้านั้น มีรายละเอียดสรุปพอให้เข้าใจ ดังนี้

        1.1. กรณีดำเนินการในรูปบุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้

การจัดตั้งในรูปบุคคลธรรมดา เหมาะกับร้านค้าปลีกย่อยที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี จะเสียภาษีเงินได้ไม่เกิน 20 % ของกำไรสุทธิ

การหักค่าใช้จ่าย

กรณีการหักค่าใช้จ่ายเหมาตามอัตราที่กำหนด

กรณีหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและเห็นสมควร

อัตราภาษีเงินได้ อยู่ที่  10 % –  37 %

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ที่  7 %

หลักเกณฑ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ  หากมียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีสรรพสามิต

หลักเกณฑ์ของภาษีสรรพสามิ คือ ภาษี ประเภทที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ

 อัตราภาษีสรรพสามิต  การเรียกเก็บขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานปกครองจะกำหนด

      1.2กรณีดำเนินการในรูปนิติบุคคล    

        การจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเหมาะกับธุรกิจที่ได้ดำเนินการร้านค้าปลีกที่เติบโตจากการค้าขายในรูปบุคคธรรมดาในข้อ 1.1 และต่อมาต้องการจะขยายกิจการเพื่อรองรับกิจการในอนาคต และเพื่อให้เกิดความมั่นคงน่าเชื่อถือในทางธุรกิจ จึงขยายการดำเนินการเป็นในรูปของนิติบุคคล  จะเสียภาษีไม่เกิน 30 % ของกำไรสุทธิ

 การหักค่าใช้จ่าย

กรณีหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและเห็นสมควร 

อัตราภาษีเงินได้ อยู่ที่ 30% ( ลดเหลือ 23% ในปี 2555 และ 20 % ในปี 2556 )

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ที่  7 %

หลักเกณฑ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ  หากมียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์ที่พึงพิจารณาดังนี้

กรณีฝากขายสินค้า  ผู้ขายสินค้า ต้องออกใบกำกับภาษีทุกทอดตลอดสาย  ตั้งแต่ผู้ผลิต ส่งมอบสินค้าแก่ตัวแทน( ผู้รับฝากขาย) และช่วงที่ตัวแทน(ห้างสรรพสินค้า) ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค

          กรณีการส่งเสริมการขาย เช่น การจัด ลด แลก แจก แถม ในช่วงเทศกาลวันสำคัญ ซึ่งจะต้องมีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อมิให้เกิดปัญหากับสรรพากร  ทั้งในเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยเฉพาะในเรื่องของภาษีมูลค้าเพิ่ม ซึ่งต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างเคร่งครัด เช่น การแถมพร้อมขาย(ตามประกาศ ภาษีมูลค่าเพิ่ม #40 ), สินค้าตัวอย่างเพื่อส่งเสริมการขาย (ตามประกาศภาษีมูลค่าเพิ่ม # 55 ),การให้ส่วนลดทางการค้า      ( ตามมาตรา 79(1)

ภาษีสรรพสามิต อัตราการเรียกเก็บขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานปกครองจะกำหนด

หลักเกณฑ์ของภาษีสรรพสามิ คือ ภาษี ประเภทที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ

สรุป

        ดังนั้นในการรับทำบัญชี จะต้องพิจารณาภาษีอากรสำหรับธุรกิจ โดยจะแบ่งภาอากรตามประเภทธุรกิจ ดังเช่นธุรกิจซื้อขายสินค้า การดำเนินงานเริ่มแรก ธุรกิจจะดำเนินงานในรูปของบุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีในส่วนของบุคคลธรรมดา( อัตรา 10% – 37%) ต่อมาเมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าก็จะขยายกิจการโดยยกเลิกการดำเนินงานในรูปของบุคคลธรรมดา และมาดำเนินงานในรูปของ นิติบุคล (อัตรา 30%  ลดเหลือ 23% ในปี 2555 และ 20 % ในปี 2556 ) สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้องนั้นมี 3 ประเภท คือ ภาษีเงินได้,ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว