ภาษีอากรสำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า ระดับ SMEs ของไทย

บทนำ

        ในการรับทำบัญชี ของบริษัท สำนักงาน เอ.ที.เอส.การบัญชี จำกัดนั้น ในเรื่องของภาษีอากร เราจะแบ่งภาษีตามประเภทธุรกิจ เช่น การผลิต,การซื้อขายสินค้า,การบริการ เป็นต้น แล้ว ในแต่ละประเภทธุรกิจจะมีการดำเนินการในรูปการในรูปของบุคคลธรรมดา และการดำเนินงานในรูปของนิติบุคคล

ในที่นี้จะกล่าวถึงภาษีอากรสำหรับธุรกิจ ซื้อขายสินค้า ระดับ SME ของไทย ซึ่งในส่วนของภาษีนั้นจะประกอบด้วย ภาษีเงินได้,ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ซึ่งในที่นี้เราจะมุ่งเน้นที่ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีสรรพสามิต นั้นก็เป็นการเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น ในเรื่องปลีกย่อยไม่ยุ่งยาก

ดังนั้นในเรื่องของภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้านั้น มีรายละเอียดสรุปพอให้เข้าใจ ดังนี้

        1.1. กรณีดำเนินการในรูปบุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้

การจัดตั้งในรูปบุคคลธรรมดา เหมาะกับร้านค้าปลีกย่อยที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี จะเสียภาษีเงินได้ไม่เกิน 20 % ของกำไรสุทธิ

การหักค่าใช้จ่าย

กรณีการหักค่าใช้จ่ายเหมาตามอัตราที่กำหนด

กรณีหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและเห็นสมควร

อัตราภาษีเงินได้ อยู่ที่  10 % –  37 %

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ที่  7 %

หลักเกณฑ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ  หากมียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีสรรพสามิต

หลักเกณฑ์ของภาษีสรรพสามิ คือ ภาษี ประเภทที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ

 อัตราภาษีสรรพสามิต  การเรียกเก็บขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานปกครองจะกำหนด

       1.2กรณีดำเนินการในรูปนิติบุคคล    

        การจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเหมาะกับธุรกิจที่ได้ดำเนินการร้านค้าปลีกที่เติบโตจากการค้าขายในรูปบุคคธรรมดาในข้อ 1.1 และต่อมาต้องการจะขยายกิจการเพื่อรองรับกิจการในอนาคต และเพื่อให้เกิดความมั่นคงน่าเชื่อถือในทางธุรกิจ จึงขยายการดำเนินการเป็นในรูปของนิติบุคคล  จะเสียภาษีไม่เกิน 30 % ของกำไรสุทธิ

 การหักค่าใช้จ่าย

กรณีหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและเห็นสมควร 

อัตราภาษีเงินได้ อยู่ที่ 30% ( ลดเหลือ 23% ในปี 2555 และ 20 % ในปี 2556 )

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ที่  7 %

หลักเกณฑ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ  หากมียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์ที่พึงพิจารณาดังนี้

กรณีฝากขายสินค้า  ผู้ขายสินค้า ต้องออกใบกำกับภาษีทุกทอดตลอดสาย  ตั้งแต่ผู้ผลิต ส่งมอบสินค้าแก่ตัวแทน( ผู้รับฝากขาย) และช่วงที่ตัวแทน(ห้างสรรพสินค้า) ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค

          กรณีการส่งเสริมการขาย เช่น การจัด ลด แลก แจก แถม ในช่วงเทศกาลวันสำคัญ ซึ่งจะต้องมีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อมิให้เกิดปัญหากับสรรพากร  ทั้งในเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยเฉพาะในเรื่องของภาษีมูลค้าเพิ่ม ซึ่งต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างเคร่งครัด เช่น การแถมพร้อมขาย(ตามประกาศ ภาษีมูลค่าเพิ่ม #40 ), สินค้าตัวอย่างเพื่อส่งเสริมการขาย (ตามประกาศภาษีมูลค่าเพิ่ม # 55 ),การให้ส่วนลดทางการค้า      ( ตามมาตรา 79(1)

ภาษีสรรพสามิต อัตราการเรียกเก็บขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานปกครองจะกำหนด

หลักเกณฑ์ของภาษีสรรพสามิ คือ ภาษี ประเภทที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ

สรุป

        ดังนั้นในการรับทำบัญชี จะต้องพิจารณาภาษีอากรสำหรับธุรกิจ โดยจะแบ่งภาอากรตามประเภทธุรกิจ ดังเช่นธุรกิจซื้อขายสินค้า การดำเนินงานเริ่มแรก ธุรกิจจะดำเนินงานในรูปของบุคคลธรรมดา เพื่อเสียภาษีในส่วนของบุคคลธรรมดา( อัตรา 10% – 37%) ต่อมาเมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าก็จะขยายกิจการโดยยกเลิกการดำเนินงานในรูปของบุคคลธรรมดา และมาดำเนินงานในรูปของ นิติบุคล (อัตรา 30%  ลดเหลือ 23% ในปี 2555 และ 20 % ในปี 2556 ) สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้องนั้นมี 3 ประเภท คือ ภาษีเงินได้,ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว

……………………………………………………………….

แหล่งที่มาของข้อมูล

        กลยุทธ์การวางแผนภาษี ชั้นสูง  ของ อาจารย์ พงศ์พศุตม์

 ………………………………………………………………..

บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

(เดิมบริษัท สำนักงาน เอ.ที.เอส.การบัญชี จำกัด)

รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับตรวจสอบบัญชี

อบรมและฝึกงานบัญชี

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์ปัญญา ศุกลินวนิช โทร 065-449-1925

 คุณฐิติรัชต์  รังสรรค์รุ่งกิจ  โทร 096-656-9162

Tel : 02-9640061, 02-9640062

www.buncheesiam.com

E-mail : p.sukalinwanit@gmail.com