การทำบัญชีนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ให้ถูกต้อง

การทำบัญชีนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ให้ถูกต้อง และมีคุณภาพ

การทำบัญชีนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด ให้ถูกต้อง หมายถึง การทำบัญชีให้ถูกต้องตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน , ตาม พรบ.การบัญชี และตามประมวลรัษฎากร

ถูกต้องตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน หมายถึง

 ทำตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน อย่างเคร่งครัด ( กฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบคุม และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร )

 อำนาจในการจัดเก็บค่าส่วนกลาง( ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าสาธารณูปโภค )

 มาตรการในการกำหนดค่าปรับกรณีผู้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าสาธารณูปโภค ล่าช้า

 การแจ้งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีสมาชิกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และค่าสาธารณูปโภค

 การจัดให้มีการตรวจสอบบัญชี โดยให้คณะ กรรมการบริหารดำเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้น รอบปีบัญชี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

ถูกต้องตาม พรบ.การบัญชี หมายถึง

ผู้ทำบัญชี

 มีคุณสมบัติ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

ประกาศกรมทะเบียนการค้ากำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีปี2543ใช้ตั้งแต่ 10 ส.ค.54 เช่น มีคุณสมบัติ และถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร,มีความรู้ภาษาไทย,ไม่เคยต้องโทษกฎหมายบัญชี หรือผู้สอบบัญชี เป็นต้น

 ควบคุมดูแลการทำบัญชีให้เป็นไป ตามมาตรฐานการบัญชี ตรงความเป็นจริง และถูกต้อง

 จัดให้มีการทำบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี

การทำบัญชี ต้องครบถ้วนถูกต้องตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเกี่ยวกับ ดู ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการ ที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๔

ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ

บัญชีรายวัน เช่น บัญชีรายวันซื้อ,รานวันขาย,รายวันทั่วไป

บัญชีเงินสด,บัญชีเงินฝากธนาคาร

บัญชีสินค้าคงคลัง

ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี

1.บัญชีเงินสด หรือบัญชีธนาคาร ให้มีรายละเอียดการได้มาหรือจ่ายไปซึ่งเงินสด เงินในธนาคาร เน้นที่มีในเอกสาร

2.บัญชีรายวันซื้อหรือบัญชีรายวันขาย ให้มีรายละเอียด ชนิด ประเภท จำนวน และราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อขาย แต่ถ้ามีรายละเอียดดังกล่าวในเอกสารประกอบการลงบัญชี

3.บัญชีรายวันทั่วไป ให้มีคำอธิบายรายการบัญชี

4.บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ให้มีรายละเอียดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

5.บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย ให้มีรายละเอียดที่มาแห่งรายได้หรือค่าใช้จ่าย โดยให้อ้างชนิดของบัญชีและหน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

6.บัญชีแยกประเภทลูกหนี้หรือบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ให้มีชื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การแสดงรายการบัญชีให้มีรายละเอียดการก่อหนี้หรือระงับหนี้ การลงรายการดังกล่าวให้อ้างชนิดของบัญชีและ

7.หน้าบัญชีหรือรหัสที่อ้างอิงด้วย

(8) บัญชีสินค้า ให้มีชื่อ ชนิด จำนวน หน่วยนับ รายละเอียดการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินค้า และจำนวนสินค้านั้น

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการลงบัญชี

 จัดให้มีเอกสารประกอบการลงบัญชีได้แก่ บันทึก หรือเอกสารใดๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี

 ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงานฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม มาตรฐานการบัญชี

ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน

 ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 เมษายน

จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน

 จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี โดยคณะกรรมการบริหารจะต้องแต่งตั้งผู้สอบบัญชีขึ้นเพื่อการตรวจสอบบัญชี

การยื่นงบการเงิน

 ยื่นงบการเงินต่อ กรมที่ดินภายในจังหวัดภายใน 3 เดือนนับวันแตสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการ

 เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชีฃ

ถูกต้อง ตามประมวลรัษฎากร

หมายถึงการวางแผนภาษี ของนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด เพื่อให้นิติบุคคลฯได้รับประโยชน์สูงสุด ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันภาระที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของกิจการ ดังนั้นการวางแผนภาษี (Tax Planning) ไม่ใช่เป็นการหลบเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) หรือหนีภาษี (Tax Evasion) ก่อนที่จะมีการวางแผนภาษีนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการวางแผนภาษีดังต่อไปนี้

1.ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย ในการวางแผนภาษีอากรผู้วางแผนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจตัวบทกฎหมายของนิติบุคคลฯ อย่างชัดเจนถูกต้อง ไม่หลงลืมประเด็นหนึ่งประเด็นใดในตัวบทกฎหมายภาษีอากร นอกจากนี้จะต้องศึกษาคำพิพากษา และข้อหารือของกรมสรรพากรประกอบการวางแผนภาษีอากรให้รัดกุมครบถ้วน

2.ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด จะต้องศึกษาข้อกฎหมายที่จะทำให้นิติบุคคลฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด โดยการกำหนดทางเลือกในการนำเงื่อนไขทางกฎหมายมาใช้ให้นิติบุคคลฯ ได้รับประโยชน์สูงสุดและถูกกฎหมายอีกด้วย เช่น รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และเรื่องของการที่ไม่ต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

 การจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ

 รายได้ค่าจากการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรซึ่งเป็นสมาชิกของนิติบุคคลฯนั้น

3.ปลอดภัยจากภาระที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า การวางแผนภาษีอากรจะต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากมุมมองของผู้วางแผนขาดความรอบครอบในการศึกษาตัวบทกฎหมายได้อย่างถูกต้องแล้วอาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตโดยถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบและประเมินภาษี ทำให้นิติบุคคลฯ มีรายจ่ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

4. มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและสมเหตุผล เมื่อมีการวางแผนภาษีอากรในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องมีการยกกฎหมายมาอ้างอิงให้ชัดเจน สามารถตอบคำถามในปัญหาต่าง ๆ ในประมวลรัษฎากร คำพิพากษา ข้อหารือของกรมสรรพากร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถหาคำตอบได้เป็นที่ยอมรับของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารอย่างไม่มีข้อสงสัย และเชื่อถือได้ในข้อมูลที่นำมาอ้างอิงเพื่อการวางแผนภาษี

2. การทำบัญชีให้มีคุณภาพ

การทำบัญชีให้มีคุณภาพจะประกอบด้วย แนวปฏิบัติ ดังนี้

1.การจัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับโปรแกรมบัญชี

 พยายามปรับระบบการทำงานให้เข้ากับโปรแกรมบัญชีมาก ที่สุด เพื่อลดปัญหาการเขียนโปรแกรมเพิ่ม

 ทดลองนำข้อมูลเข้าในแต่ละระบบ และตรวจสอบ และปรับปรุง แก้ไข

 ใช้จริง ติดตามผล และปรับปรุงแก้ไข

2.กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด ที่เป็นไปได้ เป็นการกำหนด เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น

 ปิดบัญชีตรงเวลา 90%

 จำนวนบัญชีที่ต้องแก้ไขหลังจากที่ปิดแล้ว ไม่เกิน 3% ของรายการบัญชีทั้งหมด

 จำนวนข้อบกพร่องที่ได้จากการตรวจสอบ 2จุดต่อเดือน

 จำนวนครั้งที่ปิดบัญชีช้า

3.มีการตรวจสอบติดตาม และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งคณะกรรมการคุณภาพ เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ภารกิจหลักของคณะกรรมการคุณภาพได้แก่

 กำหนดมาตรฐานคุณภาพในการทำงาน

 พิจารณาให้ความเห็นชอบในการทำงานคุณภาพ

 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบ

 จัดทำรายงาน และกำหนดแนวทางการแก้ไข